简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ที่มีแนวโน้มลุกลามแพร่กระจายไปในหลายประเทศ กำลังสร้างความตื่นตระหนกแก่ “นักลงทุนทั่วโลก”
โดยจะเห็นว่า นักลงทุนส่วนใหญ่พากัน “เทขายหุ้น” หันไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น “ทองคำ” และ “พันธบัตร”(บอนด์)
ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่า พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ราคาปรับขึ้นต่อเนื่อง จนผลตอบแทนของพันธบัตร(บอนด์ยิลด์) เหล่านี้ร่วงลง “ยกแผง” โดยเฉพาะรุ่นอายุ 10 ปี ลงมาต่ำกว่าระดับ 1.00% ทำจุด “ต่ำสุด” ใหม่เป็นประวัติการณ์ที่ 0.80% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) แม้ว่า เฟด พึ่งจะลดดอกเบี้ยลงแบบฉุกเฉินก็ตาม
โดย กลางสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟด ลดดอกเบี้ยแบบ “ฉุกเฉิน” 0.5% ส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.00-1.25% จากเดิม 1.50-1.75% เพื่อรับมือกับเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19
นอกจากนี้ตลาดบอนด์สหรัฐตลอดเดือนก.พ.ที่ผ่านมา ยังเกิดภาวะ “เส้นผลตอบแทนกลับหัว” หรือ “Inverted yield curve” อยู่หลายครั้ง ซึ่งเป็นภาวะที่บอนด์ยิลด์ระยะสั้นให้ “ผลตอบแทนสูงกว่า” บอนด์ยิลด์ระยะยาว ...สถานการณ์เหล่านี้ถือเป็นเครื่องเตือนภัยถึง ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะเกิด “ภาวะถดถอย” ในระยะข้างหน้า
ข้อมูลเชิงสถิติในอดีตของ “สหรัฐ” ตั้งแต่ปี 1960 (2503) ถึงปัจจุบัน สามารถทำนายการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ “ถูกต้อง” ถึง 7 ครั้ง จากทั้งหมด 8 ครั้ง มีผิดพลาดเพียงครั้งเดียว คือ ในปี 1966(2509) โดยสถิติชี้ว่า หลังเกิดภาวะ Inverted yield curve มักเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยตามมาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า
ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนจึงกังวลว่า การเกิดภาวะ Inverted yield curve บวกกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ที่เริ่มกระจายในหลายๆ ประเทศ กำลังลากเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก เข้าสู่ภาวะถดถอยในระยะข้างหน้า
สำหรับตลาด “บอนด์ไทย” แม้เวลานี้ยังไม่เกิดภาวะเส้นผลตอบแทนกลับหัว แต่ถ้าดู “บอนด์ยิลด์” รุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ลงมาต่ำกว่าระดับ 1% โดยอยู่ที่ 0.94% ถือเป็นระดับต่ำสุดในประวัติการณ์เช่นกัน ซึ่งเป็นระดับที่ “ใกล้เคียง” หรือ “ต่ำกว่า” ดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ 1.00%
“นริศ สถาผลเดชา” หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ระบุว่า การที่บอนด์ยิลด์ของไทยระยะยาว เช่น รุ่นอายุ 10 ปี ปรับลดลงจนอยู่ระดับเดียวกับดอกเบี้ยนโยบาย ถือเป็น “หนึ่งในเครื่องบ่งชี้” ถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ “เศรษฐกิจถดถอย” ในระยะข้างหน้าได้เช่นกัน
โดยตลอด 12 ปีที่ผ่านมา มี 3 ครั้งที่ “บอนด์ยิลด์” รุ่นอายุ 10 ปีของไทย ปรับลดลงมาอยู่ในระดับ “ใกล้เคียง” หรือ “ต่ำกว่า” ดอกเบี้ยนโยบาย
ครั้งแรก คือ ปี 2551 ช่วงนั้นดอกเบี้ยนโยบายอยู่ระดับ 2.75% ขณะที่ บอนด์ยิลด์ รุ่นอายุ 10 ปี เคลื่อนไหวในระดับ 2-2.5% เป็นระดับที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งหลังจากนั้นก็เกิด “วิกฤตเศรษฐกิจโลก” ทำให้ ธปท. ต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงจนอยู่ระดับ 1.25%
ครั้งที่สอง ปี 2554 เวลานั้นดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 3.50% ส่วน บอนด์ยิลด์ รุ่นอายุ 10 ปี แกว่งตัวในระดับ 3.25-3.50% โดยช่วงเวลานั้นเกิดเหตุการณ์มหาอุทกภัย “น้ำท่วมใหญ่” ครั้งรุนแรง และก็ทำให้เศรษฐกิจไทยเกิดภาวะถดถอย จน ธปท. ต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ระดับ 2.5% เพื่อดูแลเศรษฐกิจ
ครั้งที่สาม ปี 2557 ขณะนั้นดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 1.5% ส่วน บอนด์ยิลด์ รุ่นอายุ 10 ปี เคลื่อนไหวในระดับเดียวกัน คือ 1.5-1.6% เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง และทำให้เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ปีดังกล่าว ขยายตัวเพียง 1% เท่านั้น
การที่ บอนด์ยิลด์ รุ่นอายุ 10 ปี ลดลงทำจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่ที่ 0.94% ในครั้งนี้ และยังเป็นระดับใกล้เคียงกับดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.00% สร้างความกังวลต่อตลาดการเงินว่า “เศรษฐกิจไทย” กำลังเดินเข้าสู่ “ภาวะถดถอย” ในระยะข้างหน้า
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
STARTRADER
FP Markets
XM
IC Markets Global
FBS
ATFX
STARTRADER
FP Markets
XM
IC Markets Global
FBS
ATFX
STARTRADER
FP Markets
XM
IC Markets Global
FBS
ATFX
STARTRADER
FP Markets
XM
IC Markets Global
FBS
ATFX