简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ผลสำรวจ CEO SURVEY ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ชี้ว่าบริษัทเกินกว่าครึ่งไม่เชื่อมั่นมาตรการรับมือโควิด-19 ของภาครัฐ เพราะเวลานี้ภาคธุรกิจกำลังได้รับความเดือนร้อนหนัก ถึงเวลที่ภาครัฐต้องเร่งทบทวนมาตรการรับมือจริงจัง เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นกลับคืนมา
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้จัดทำแบบสำรวจ “CEO SURVEY” ถึงแผนรับมือธุรกิจของบริษัทต่างๆ รวม 200 บริษัท จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19”ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น “ผู้บริหารระดับสูง” ขององค์กรต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นการสำรวจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ตอบแบบสอบถาม “เกินครึ่ง” หรือราว 53.3% ระบุว่า “ไม่เชื่อมั่น” ในมาตรการรับมือของภาครัฐต่อการแก้ปัญหา “โควิด-19” ส่วนที่เหลืออีก 46.7% ระบุว่าเชื่อมั่น
ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ แบ่งเป็น กลุ่มการเงิน 17.7% กลุ่มการผลิต 14.6% กลุ่มไอที โทรคมนาคม ดิจิทัล 13.1% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 12.6% และ กลุ่มค้าปลีก 7.6% ...ธุรกิจเหล่านี้กว่า 94.5% ระบุว่า “ได้รับผลกระทบ” จากการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวโดย 43.7% บอกว่า ได้รับผลกระทบในระดับ “ปานกลาง” คือ กระทบยอดขายมากกว่า 25% แต่ไม่ถึง 50% ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบ “มาก” มีสัดส่วนผู้ตอบราว 20.1% โดยกลุ่มนี้ระบุว่า กระทบยอดขายมากกว่า 50% ขึ้นไป และอีก 30.7% ระบุว่า ได้รับผลกระทบ “น้อย” คือ กระทบต่อยอดขายน้อยกว่า 10% ส่วนผู้ที่ตอบว่าไม่ได้รับผลกระทบเลยมีเพียง 5.5% เท่านั้น
สำหรับข้อถามที่ว่า ธุรกิจปรับตัวอย่างไรท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราว 32.6% ระบุว่า ใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ส่วนอีก 25.4% ระบุว่า รักษาสภาพคล่องธุรกิจเอาไว้ และอีก 14% ระบุว่า หาตลาดใหม่ทดแทนส่วนกลุ่มที่บอกว่าชะลอแผนลงทุน มีผู้ตอบแบบสอบถามข้อนี้ราว 11.9% ...เมื่อถามว่า ภาพรวมการเติบโตของธุรกิจในปีนี้เป็นอย่างไร ผู้ตอบแบบสอบถาม “เกินครึ่ง” หรือ 55.1% ระบุว่า “ต่ำกว่าเป้า” และอีก 29.8% บอกว่า “ทรงตัว” มีเพียง 15.2% ที่ระบุว่า “เท่าเดิม”
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือราว 38.2% เชื่อว่าจะยุติได้ภายในไตรมาส 2รองลงมา 32.2% คาดว่าจะยุติในไตรมาส 3 และมีอีก 12.1% คาดว่าจะยุติได้ในไตรมาส 4 ที่เหลืออีก 17.6% ตอบว่า ยังประเมินได้ยาก ...จากข้อมูลแบบสอบถามที่ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจมา เห็นภาพชัดเจนว่า เวลานี้ “ภาคธุรกิจ” กำลังได้รับความ “เดือนร้อน” อย่างหนักจาก “โควิด-19” และสิ่งที่ภาคธุรกิจเลือกทำอย่างแรก คือ “ลดต้นทุน” ซึ่งต้นทุนในที่นี้ หนีไม่พ้นเรื่อง “จ้างงาน” เราจึงเห็นหลายธุรกิจเริ่มลดชั่วโมงการทำงาน หรือลดจำนวนพนักงานลง แน่นอนว่า ที่ตามมาหลังจากนี้ คือ การบริโภคที่ทรุดตัวลง ซ้ำเติมภาพเศรษฐกิจที่หนักยิ่งขึ้น
ย้อนกลับไปคำถามแรกของแบบสอบถาม เรื่อง “ความเชื่อมั่น” ต่อมาตรการรับมือของภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ตอบว่า “ไม่เชื่อมั่น” ...เราหวังว่า ภาครัฐจะหยิบ “ข้อมูล” เหล่านี้ไปใช้ทบทวนปรับปรุงมาตรการต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกลับคืนมา...และต้องบอกว่าเราเห็น “ความพยายาม” อย่างหนักของภาครัฐในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เราเห็นมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่กำลังเร่งออกมา แต่เราก็เห็นว่าข้อมูลบางอย่างที่ “รัฐบอก” กับสิ่งที่ “ประชาชนสัมผัส” ด้วยตัวเอง “ไม่ตรงกัน” เช่น เรื่องที่อาจฟังดูเล็กน้อยอย่างการบอกว่าหน้ากากอนามัย “ไม่ขาดตลาด” หรือ “ไม่พบการขายเกินราคา” เรื่องแบบนี้อาจดูหยุมหยิมสำหรับภาครัฐ แต่กับประชาชนทั่วไปแล้ว แค่เรื่องเล็กน้อยแบบนี้รัฐบาลกลับมองไม่เห็นถึงปัญหา แล้วจะให้ประชาชนเชื่อมั่นในเรื่องที่ใหญ่กว่าได้อย่างไร เราเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐต้องเร่งทบทวนมาตรการรับมือต่างๆ อย่างจริงจัง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
FOREX.com
OANDA
AvaTrade
FXTM
Exness
Vantage
FOREX.com
OANDA
AvaTrade
FXTM
Exness
Vantage
FOREX.com
OANDA
AvaTrade
FXTM
Exness
Vantage
FOREX.com
OANDA
AvaTrade
FXTM
Exness
Vantage