简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ยูบีเอส กรุ๊ป ชี้ ไทย และไต้หวัน อาจถูกสหรัฐ เพิ่มชื่อไว้ในบัญชีเฝ้าระวัง ประเทศที่มีการ “ปั่นค่าเงิน” หลังมีคุณสมบัติครบทุกเงื่อนไข ที่กระทรวงการคลังสหรัฐ กำหนดไว้
หนึ่งข่าวใหญ่ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวใน “ตลาดหุ้น” และ “ค่าเงินบาท” ของไทยในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ข่าวที่ “ไทย” อาจถูกทางการสหรัฐ “ขึ้นบัญชีดำ” ในฐานะประเทศที่ “ปั่นค่าเงิน” เพื่อหวังผลทางการค้า ซึ่งข่าวนี้รายงานโดย “บลูมเบิร์ก” ที่อ้างอิงบทความของ UBS และ Goldman Sachs ซึ่งวิเคราะห์ว่าในเร็วๆ นี้ กระทรวงการคลังสหรัฐ จะประกาศรายชื่อประเทศที่ “ปั่นค่าเงิน” หรือ “Currency manipulator” เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้ากับสหรัฐ โดยรายงานฉบับนี้อาจมีชื่อประเทศ “ไทย” และ “ไต้หวัน” รวมอยู่ด้วย
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการจัดทำรายงานดังกล่าวของทางการสหรัฐ มีขึ้นเพื่อต้องการ “ลด” การขาดดุลการค้าของสหรัฐที่มีต่อประเทศต่างๆ เพราะในแต่ละปี “สหรัฐ” ขาดดุลการค้ากับประเทศต่างๆ ทั่วโลกราว 8 แสนล้านดอลลาร์ ...สหรัฐมองว่าหลายๆ ประเทศพยายามทำ “ค่าเงิน” ของตัวเองให้ “อ่อนลง” เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้า จึงทำให้สหรัฐขาดดุลการค้ากับหลายๆ ประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้สหรัฐจึงกำหนดเกณฑ์ Currency manipulator ขึ้นมา โดยมี 3 ข้อหลักๆ ด้วยกัน เพื่อดูว่าประเทศใดบ้างที่ “ปั่นค่าเงิน” เพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐ
ข้อแรกคือดูว่าประเทศใดบ้างที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐในช่วง 12 เดือนย้อนหลังสูงกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ข้อสอง ดูว่าประเทศใดบ้างที่มียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงกว่า 3% ของจีดีพี และข้อสาม ดูว่าประเทศใดบ้างที่สะสมเงินสำรองระหว่างประเทศในช่วง 12 เดือนย้อนหลังเกินกว่า 2% ของจีดีพี ...หลายคนเชื่อว่าเกณฑ์ที่สหรัฐกำหนดขึ้นมานี้มุ่งเป้าไปที่ “จีน” เพราะในแต่ละปีสหรัฐเสียดุลการค้าให้กับจีนเฉลี่ยปีละไม่น้อยกว่า 5 แสนล้านดอลลาร์
แม้เป้าใหญ่ของ “สหรัฐ” คือ “จีน” แต่ก็มีหลายๆ ประเทศโดนลูกหลงจากเกณฑ์ดังกล่าวด้วย โดยในรายงานฉบับที่ผ่านมา ซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือน ม.ค.2563 ยังไม่มีประเทศที่ถูกสหรัฐกล่าวหาว่าปั่นค่าเงิน จะมีก็แต่ประเทศที่ที่สหรัฐเฝ้า “จับตาดู” เนื่องจากเข้าตามเกณฑ์ 2 ข้อ จากทั้งหมด 3 ข้อ ซึ่งมีด้วยกัน 10 ประเทศ คือ จีน เยอรมนี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ สวิตเซอร์แลนด์ และเวียดนาม ...ส่วนของ “ไทย” ที่ผ่านมายังไม่เคยถูกขึ้นบัญชีดังกล่าวเลย จึงต้องติดตามดูว่ารายงานฉบับล่าสุดที่กระทรวงการคลังสหรัฐเตรียมประกาศเร็วๆ นี้ จะมีชื่อของไทยรวมอยู่ด้วยหรือไม่
รายงานฉบับที่ “สหรัฐ” เตรียมประกาศนี้จะใช้ข้อมูลปี 2562 ซึ่งเท่าที่ตามดูตัวเลข ต้องยอมรับว่า “มีความเสี่ยงสูง” ที่เราจะติดอยู่ในบัญชีดำของสหรัฐ เพราะถ้าดูเกณฑ์เรื่องดุลการค้าในปี 2562 ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐคาบเส้นพอดีที่ 2.01 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดก็เกินดุลถึง 7% ของจีดีพี ขณะที่เงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นถึง 1.86 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือราว 3.5% ของจีดีพี จะเห็นว่า “ไทย” เข้าตามเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อพอดี ...แต่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล เพราะถ้าดูข้อมูลล่าสุด ณ สิ้น มิ.ย.2563 ย้อนหลังไป 12 เดือน อย่างน้อยเรา “ไม่เข้า” เกณฑ์สหรัฐถึง 2 ข้อ คือดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด จึงเชื่อว่าแม้รอบนี้จะมีชื่อไทยอยู่ในบัญชีดังกล่าว แต่รอบหน้าเราพ้นจากบัญชีดำของสหรัฐอย่างแน่นอน
สงสัยไหมว่าเราจะตามข่าวหรือบทวิเคราะห์พวกนี้จากไหนบนแอปพลิเคชันWikiFX จะมีอัปเดทบทวิเคราะห์แบบมหาศาลให้อ่านและยังมีแจ้งเตือนโบรกเกอร์เถื่อนในแต่ละสัปดาห์ดูใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex ดูรีวิวโบรกเกอร์ Forexที่เจ๋งที่สุดคือต่อจากนี้จะมีแจ้งเตือนค่าเงินหลักที่จะผันผวนแรงในวัดถัดไปถ้าโหลแอปตอนนี้เราจะได้เปรียบกว่าเทรดเดอร์คนอื่น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความกระหายความเสี่ยงของนักลงทุนแย่ลงในวันนี้เนื่องจาก ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบเก้าวันทำการ ค่าเงินที่ลดลงพร้อมกันและผลตอบแทนของพันธบัตรยืนยันมุมมองของเราว่านักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
เทรดเดอร์ Forex คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าข่าวด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงิน มีความสำคัญต่อค่าเงินโดยตรง มันส่งผลให้ค่าเงินสูง-ต่ำ ตามตัวเลขต่าง ๆ ในข่าวได้นะ
ค่าเงินใดจะผันผวนแรงเพราะข่าวในวันนี้
ค่าเงินลีราร่วง 17% หลังปธน.ตุรกีปลดผู้ว่าแบงก์ชาติเหตุขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรับมือเงินเฟ้อสู่ระดับ 19%