简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: อังกฤษกำลังอยู่ใน “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” โดยสถานะขณะนี้พ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังต้องเจรจาข้อตกลงทางเศรษฐกิจให้จบภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ มิฉะนั้นก็จะเป็น No-deal Brexit อย่างเป็นทางการ และถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น อังกฤษจะได้รับผลกระทบ 7 ด้าน
อังกฤษกำลังอยู่ใน “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” โดยสถานะขณะนี้พ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังต้องเจรจาข้อตกลงทางเศรษฐกิจให้จบภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ มิฉะนั้นก็จะเป็น No-deal Brexit อย่างเป็นทางการ และถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น อังกฤษจะได้รับผลกระทบ 7 ด้าน
วันนี้ (10 ธันวาคม 2020) “บอริสจอห์นสัน” นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะรับประทานอาหารค่ำกับ “เออร์ซูลาฟอนเดอร์เลเยน” ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ในกรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม มื้ออาหารนี้ไม่ธรรมดาเพราะจะเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของจอห์นสัน เพื่อหาข้อตกลงร่วมในการกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอังกฤษกับสหภาพยุโรป
จอห์นสันมีความตั้งใจที่จะทำให้ดีลชัดเจนขึ้นภายในสุดสัปดาห์นี้ แต่ก็ยังคงหนักแน่นในจุดยืนว่าอังกฤษจะเป็นชาติอิสระที่ยืนด้วยลำแข้งของตัวเอง
แม้ว่าจอห์นสันจะประกาศกร้าวมานานแล้วว่าเขา “พร้อมรับสถานการณ์ No-deal Brexit” แต่เชื่อได้ว่าเขาเองก็ไม่ต้องการให้สถานการณ์นั้นเกิดขึ้น และถ้าหากเกิดขึ้นจริง สำนักข่าว Reuters ได้วิเคราะห์ผลกระทบ 7 ด้านจากการไร้ดีลการค้าเมื่อออกจากการเป็นสมาชิก EU ของอังกฤษ ดังนี้
1. เงินปอนด์อ่อนค่า
นักลงทุนและสถาบันการเงินคาดการณ์ไว้นานแล้วว่า ข้อตกลงทางการค้าจะสำเร็จได้ ดังนั้น ถ้าหากผลพลิกผันเป็น No-deal Brexit สถานการณ์จะซ้ำเติมให้ค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิงอ่อนค่าลงอีก
เงินปอนด์เคยร่วงลงรุนแรงที่สุดภายในวันเดียวมาแล้ว เมื่อวันประกาศผลการลงประชามติปี 2016 ที่ปรากฏว่าอังกฤษโหวตออกจาก EU ทำให้เงินปอนด์อ่อนค่า 8% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันค่าเงินปอนด์อยู่ที่ 1 ปอนด์ต่อ 1.34 ดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับปี 2016 ก่อนการลงประชามติอยู่ที่ 1 ปอนด์ต่อ 1.45 ดอลลาร์สหรัฐ
2. กำแพงภาษี ส่งออกแข่งขันยาก ของนำเข้าแพงขึ้น
หากไม่มีดีลการค้าใดๆ เลย อังกฤษจะสูญเสียตลาดปลอดภาษีในยุโรปไปในชั่วข้ามคืน โดยตลาดนี้มีประชากรกว่า 450 ล้านคน จึงเป็นฐานการส่งออกสินค้าที่สำคัญมากของอังกฤษ ในทางกลับกัน อังกฤษก็จะตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรปด้วย ทำให้ประชาชนและธุรกิจอังกฤษต้องซื้อสินค้านำเข้าในราคาแพงขึ้น
ในแง่ผู้บริโภคทั่วไป เป็นไปได้ว่าสินค้า “กลุ่มอาหาร” จะกระทบหนักที่สุด อังกฤษอาจจะขาดแคลนอาหารจากยุโรปไประยะหนึ่ง โดยอังกฤษมีการนำเข้าอาหารสดถึง 60% ของที่มีในตลาด
ทั้งนี้ “จอห์นอัลลัน” ประธานบริษัท Tesco ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ของอังกฤษระบุว่า การขาดแคลนอาหารสดอาจจะเกิดขึ้นชั่วคราวเพียง 1-2 เดือน จากนั้นจะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนราคาอาหารสดนำเข้าโดยเฉลี่ยน่าจะสูงขึ้น 3-5% ขึ้นอยู่กับประเภทอาหาร บางชนิดอาจจะราคาสูงขึ้นมาก เช่น ชีสจากฝรั่งเศสสามารถปรับราคาขึ้นได้สูงสุด 40% ดังนั้น ผลกระทบต่อผู้บริโภคแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับบุคคลนั้นๆ รับประทานของนำเข้ามากแค่ไหน
ส่วนกลุ่มธุรกิจที่มี EU เป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชน คาดว่าจะมีผลกระทบหลักกับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ คือ ยานยนต์, อาหารและเครื่องดื่ม, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย, ยาและเวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
สหภาพยุโรปนั้นเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ โดยมีสัดส่วนถึง 47% ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดในปี 2019 โดยมีมูลค่ารวมราว 7.9 หมื่นล้านปอนด์
3.ธุรกิจยานยนต์อ่วมสุด
ในบรรดาธุรกิจที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว อุตสาหกรรมที่จะรับเคราะห์หนักที่สุดคือ “ยานยนต์” เนื่องจากการส่งออกรถยนต์ไปยัง EU จะเผชิญกำแพงภาษี 10% ทันที และสูงขึ้นเป็น 22% สำหรับรถประเภทรถบรรทุกและรถตู้ เมื่อเกิดการขึ้นภาษี เป็นไปได้สูงที่ภาระนี้จะถูกผลักลงในราคารถยนต์ และทำให้ผู้บริโภคยุโรปที่ต้องการซื้อรถอังกฤษต้องจ่ายแพงขึ้น
เครือข่ายผู้ผลิตและผู้ค้ายานยนต์แห่งอังกฤษเปิดเผยว่า No-deal Brexit จะทำให้การผลิตรถยนต์ในอังกฤษลดลง 2 ล้านคันในรอบ 5 ปีข้างหน้า และมีผลให้การพัฒนายานพาหนะปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ทำได้ช้าลง
Reuters ยังรายงานเสริมด้วยว่า อีกประเด็นที่จริงๆ แล้วมีผลกระทบกับเศรษฐกิจน้อยแต่มีผลเชิงสังคมสูงคือ “ธุรกิจประมง” การเจรจาเรื่องเส้นแบ่งเขตแดนทำประมงกับฝรั่งเศสจะเป็นเรื่องใหญ่ในข้อตกลง แม้ว่าการประมงจะมีสัดส่วนเพียง 0.03% ในมูลค่าเศรษฐกิจของอังกฤษก็ตาม
4.เศรษฐกิจป่วนทั้งสองฝั่ง
สำนักงานตรวจสอบการใช้งบประมาณอย่างรับผิดชอบของอังกฤษ ประเมินว่า หากอังกฤษพ้นสมาชิก EU แบบไร้ข้อตกลงทางการค้า จะทำให้ขนาดเศรษฐกิจอังกฤษลดลง 2% ขณะเดียวกัน จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น อัตราว่างงานสูงขึ้น และหนี้สาธารณะสูงขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม ฝั่ง EU ก็จะได้รับผลกระทบเช่นกัน บริษัท Allianz ประเมินว่าการออกแบบไร้ดีลจะทำให้สหภาพยุโรปสูญเสียตลาดส่งออกมูลค่า 3.3 หมื่นล้านยูโรไป โดยมีประเทศที่รับผลหนักที่สุดคือ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส รองลงมาคือไอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส โปแลนด์ เช็ก ไซปรัส มอลต้า และฮังการี
สถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจ Halle คาดการณ์ว่าบริษัทใน EU ที่ทำการส่งออกไปอังกฤษ เมื่อได้รับผลกระทบจากการไร้ข้อตกลงการค้า จะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการว่างงานถึง 7 แสนตำแหน่งในอุตสาหกรรมนี้
5.ปัญหาไอร์แลนด์เหนือ
เนื่องจากข้อตกลง Brexit ไม่ได้ออกจาก EU กันหมดทั้งสหราชอาณาจักร เฉพาะไอร์แลนด์เหนือนั้นจะยังอยู่ในระบบตลาดปลอดภาษีของ EU ต่อไป ทำให้ต้องมีข้อตกลงเรื่องการจัดตั้งด่านตรวจและเอกสารระหว่างสองดินแดน แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจน
ถ้าหากอังกฤษออกแบบไร้ดีลการค้า ก็จะยิ่งทำให้ปัญหานี้ซับซ้อนขึ้นอีก เพราะดินแดนไอร์แลนด์เหนืออาจจะกลายเป็นประตูหลังบ้านในการนำเข้าส่งออกสินค้ากับ EU ได้ ส่งผลให้แนวคิดการจัดตั้งด่านชายแดนแบบเข้มงวด (hard border) ในไอร์แลนด์ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยอีกครั้ง หลังจากเรื่องนี้ถูกระงับไปตั้งแต่เกิดข้อตกลงสันติภาพ Good Friday Agreement ปี 1998
หากเกิดด่านชายแดนเข้มงวดขึ้นจริง จะมีผลทางสังคมกับคนในพื้นที่ที่เดินทางเข้าออกไปทำงานหรือไปเที่ยวในสาธารณรัฐไอร์แลนด์เป็นประจำ และอาจจะส่งผลต่อเนื่องให้การขอแยกตัวเป็นเอกราชของไอร์แลนด์เหนือปะทุขึ้นมาอีก โดยในอดีตกลุ่มกองกำลังติดอาวุธ IRA เคยเคลื่อนไหวอยู่นานถึง 30 ปี ก่อนเกิดข้อตกลงสันติภาพดังกล่าว
6.ความขมขื่นทางการเมือง
การหย่าร้างของ EU กับอังกฤษยังจะมีผลในแง่ขั้วอำนาจทางการเมืองโลกด้วย ท่ามกลางการแผ่ขยายของมหาอำนาจตะวันออกอย่างจีนและรัสเซีย และการระบาดของ COVID-19 หากมีเรื่องยุ่งยากทางการเมืองโลกเกิดขึ้น เป็นไปได้ว่าต่างฝ่ายต่างจะกลายเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน
ภายใน EU เองก็น่าจะเกิดความปั่นป่วนเช่นกัน เพราะได้สูญเสียหนึ่งในผู้นำทางการทหารและปฏิบัติการสายลับของยุโรป รวมถึงเป็นตลาดเศรษฐกิจอันดับสองทวีป และเป็นเมืองหลวงทางการเงินแห่งเดียวที่พอจะเทียบชั้นกับนิวยอร์กได้ หลังจากนี้ อังกฤษน่าจะหันไปพึ่งพิงพันธมิตรยาวนานอย่างสหรัฐอเมริกามากขึ้นแทน
7.“ลอนดอน” เมืองหลวงทางการเงิน?
ดีลการค้านี้แน่นอนว่าจะไม่สามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูงที่สุดในโลกอย่าง “ธุรกิจการเงิน” ทำให้บรรดานักลงทุนและธนาคารในลอนดอนต่างเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อรับความวุ่นวายจากการ Brexit
โดยปกติลอนดอนคือศูนย์กลางการเงินโลก แหล่งตลาดเงินมูลค่ากว่า 6.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 43% ของโลก ในขณะที่คู่แข่งในยุโรปอันดับสองคือปารีสนั้น ตามมาในสัดส่วนเพียงแค่ 2% อย่างไรก็ตาม กรณี Brexit น่าจะทำให้สหภาพยุโรปพยายามดึงส่วนแบ่งตลาดมาจากลอนดอนมากขึ้น
ย้อนกลับไปในปี 2016 กลุ่มผู้สนับสนุน Brexit เคยมองว่าการออกจาก EU เป็น “เรื่องง่ายๆ” แต่มาถึงวันนี้คงไม่มีใครกล้าพูดเช่นนั้นอีกแล้ว
รู้ยังตอนนี้แอป WikiFX จะมีส่งแจ้งเตือน “แนวโน้มคู่เงินหลักในตลาด” ทุกวันตอนเช้า พร้อมแนะนำช่วงเวลาที่ควรออกออเดอร์ด้วยนะ ต้องดาวน์โหลดแอป WikiFX แล้วแหละ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
หลังสหราชอาณาจักร (ยูเค)และสหภาพยุโรป (อียู) สามารถเจรจาสรุปความตกลงทางการค้าหลัง Brexit (A post-Brexit trade deal) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันมากว่า 4 ปีครึ่ง ในช่วงบ่ายวันที่ 24 ธ.ค. 2563
เงื่อนไขของข้อตกลง Brexit ในที่สุดก็หลีกเลี่ยงสถานการณ์ "Ne deal Brexit" โดยเงินปอนด์เพิ่มขึ้น 0.9% สู่ระดับ 1.3619
วันอาทิตย์ที่ผ่านมาสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปตกลงที่จะดำเนินการเจรจาการค้าต่อไปหลังจากจัดการเจรจา GBP/USD ได้รับผลกระทบจากข่าวนี้พุ่งขึ้นมากกว่า 160 จุดสู่ระดับ 1.3391 เมื่อเปิดทำการเมื่อวันจันทร์จากนั้นก็ร่วงลงมาใกล้ 1.3330 เพื่อปรับฐาน
คาดว่า GDP ของสหราชอาณาจักรในปีนี้จะอยู่ในระดับที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จากสิ่งนี้ GBP / USD อยู่ภายใต้แรงกดดัน
Vantage
IC Markets Global
FOREX.com
FP Markets
FBS
OANDA
Vantage
IC Markets Global
FOREX.com
FP Markets
FBS
OANDA
Vantage
IC Markets Global
FOREX.com
FP Markets
FBS
OANDA
Vantage
IC Markets Global
FOREX.com
FP Markets
FBS
OANDA