简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:หลังสหราชอาณาจักร (ยูเค)และสหภาพยุโรป (อียู) สามารถเจรจาสรุปความตกลงทางการค้าหลัง Brexit (A post-Brexit trade deal) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันมากว่า 4 ปีครึ่ง ในช่วงบ่ายวันที่ 24 ธ.ค. 2563
หลังสหราชอาณาจักร (ยูเค)และสหภาพยุโรป (อียู) สามารถเจรจาสรุปความตกลงทางการค้าหลัง Brexit (A post-Brexit trade deal) หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันมากว่า 4 ปีครึ่ง ในช่วงบ่ายวันที่ 24 ธ.ค. 2563 ซึ่งเหลือเพียง 7 วันก่อนที่จะสิ้นสุด Transition period ในวันที่ 31 ธ.ค.2563 สาระโดยสรุปข้อตกลง ด้านการค้า Brexit trade deal จะทำให้ไม่มีการกำหนดภาษีระหว่าง ยูเคและอียูจะไม่มีมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างกัน (No tariff and no NTBs) และยูเค ยังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 ของอียูด้วย
อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมได้ประเมินโยบายและมาตรการทางการของยูเคที่จะส่งผลต่อการส่งออกของไทยภายหลังเบร็กซิท คือ 1.ยูเคจะยกเลิกภาษีศุลกากรที่เก็บกับสินค้านำเข้าคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 48% ของรายการสินค้าทั้งหมด ซึ่งประเทศที่ยังไม่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับยูเค รวมถึงไทยจะได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว
2. ยูเคจะลดอัตราภาษีสินค้านำเข้าเหลือ 2-10% เป็นสัดส่วน 30% ของรายการสินค้าทั้งหมด 3. ยูเคยังคงเก็บภาษีนำเข้า 12-70% กับสินค้าประมาณ 10% ของรายการสินค้าทั้งหมด และ 4.ยูเคจะใช้มาตรการภาษีเฉพาะหรือกำหนดโควตานำเข้า กับสินค้าประมาณ 10% ของรายการสินค้าทั้งหมด
“จะเห็นว่ายังมีสัดส่วนกลุ่มสินค้าที่ไทยจะเสียเปรียบประเทศที่มีเอฟทีเอกับยูเค เช่น เวียดนาม สิงคโปร์ อยู่อีกจำนวนหนึ่งดังนั้น เพ่ื่อไม่ให้เสียโอกาสทางการค้าทั้งในตลาดยูเคเอง และตลาดอียู การทำเอฟทีเอกับทั้งสองฝ่ายจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในขณะนี้ ”
สำหรับความคืบหน้าการทำเอฟทีเอกับอียู ล่าสุด เตรียมเสนอกรอบเจรจาให้จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พิจารณา ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติให้ไทยไปเจรจากับอียูต่อไป คาดว่าน่าจะเป็นช่วงต้นปี 2564
ส่วนคืบหน้าการเตรียมเข้าสู่การทำเอฟทีเอไทย-ยูเคอยู่ระหว่างการหารือกับยูเคเพื่อจัดทำรายงานการทบทวนนโยบายการค้าร่วม (Joint Trade Policy Review) และจัดทำบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) กับยูเค ในระดับรัฐมนตรี ซึ่งจะเป็นเวทีหารือส่งเสริมความร่วมมือและแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน และ ยังได้มอบให้บริษัท โบลลิเกอร์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด) ศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำเอฟทีเอระหว่างไทยและยูเค ตลอดจนจัดรับฟังความเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอระดับนโยบายพิจารณาตัดสินใจในเรื่องการเจรจาเอฟทีเอกับยูเคต่อไป
พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า( สนค.) กล่าวว่า ผลการเจรจาเบร็กซิทนี้ทำให้บรรยากาศการค้าและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศผ่อนคลายมากขึ้น กรณีนี้จะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากที่สุด โดยจะช่วยบรรเทาปัญหาศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดโควิด-19
คาดว่าภายหลังเบร็ทซิท นโยบาย Global Britain ของยูเค นั้นจะให้ความสำคัญในการดำเนินการความสัมพันธ์ทางการค้าใหม่และมีมุมมองบวกต่อเอเชีย เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของอินโด-แปซิฟิก ในการเป็นโอกาสในการสร้างความเติบโตให้แก่หลายภาคส่วนของประเทศ ซึ่งไทยและอินโดนีเซียเป็นที่เป้าหมายสำคัญที่ยูเค ต้องการทำเอฟทีเอ ด้วย และนโยบาย UK Global Champion on Free Trade มุ่งที่จะจัดทำเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าให้ครอบคลุมสัดส่วนการค้าสหราชอาณาจักรให้ได้ถึง 80 % ในระยะเวลา 3 ปี
“ผลกระทบของเบร็กซิทต่อการค้าระหว่างไทยกับยูแคและอียู คือการส่งออกสินค้าของไทยไปยูเคจะได้รับผลกระทบค่อนข้างจำกัด เพียง 1.1% แต่จะมีผลกระทบทางอ้อมด้วย จากรายได้ที่ลดลงของประเทศที่มีการเชื่อมโยงทางการค้ากับยูเค”
เคยตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ของคุณบ้างไหม บางทีใบอนุญาตโบรกเกอร์ของคุณอาจจะเพิ่งถูกถอดไปก็เป็นได้ และโบรกเกอร์ของคุณกลายเป็นโบรกเกอร์เถื่อน เมื่อโบรกเกอร์ล้มละลายหรือโกงเงินคุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดใดเลย ตรวจสอบตอนนี้เลยโดยโหลดแอพ WikiFX มาตรวจสอบ!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เงื่อนไขของข้อตกลง Brexit ในที่สุดก็หลีกเลี่ยงสถานการณ์ "Ne deal Brexit" โดยเงินปอนด์เพิ่มขึ้น 0.9% สู่ระดับ 1.3619
อังกฤษกำลังอยู่ใน “ช่วงเปลี่ยนผ่าน” โดยสถานะขณะนี้พ้นจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว แต่ยังต้องเจรจาข้อตกลงทางเศรษฐกิจให้จบภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ มิฉะนั้นก็จะเป็น No-deal Brexit อย่างเป็นทางการ และถ้าเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น อังกฤษจะได้รับผลกระทบ 7 ด้าน
วันอาทิตย์ที่ผ่านมาสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปตกลงที่จะดำเนินการเจรจาการค้าต่อไปหลังจากจัดการเจรจา GBP/USD ได้รับผลกระทบจากข่าวนี้พุ่งขึ้นมากกว่า 160 จุดสู่ระดับ 1.3391 เมื่อเปิดทำการเมื่อวันจันทร์จากนั้นก็ร่วงลงมาใกล้ 1.3330 เพื่อปรับฐาน
คาดว่า GDP ของสหราชอาณาจักรในปีนี้จะอยู่ในระดับที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ จากสิ่งนี้ GBP / USD อยู่ภายใต้แรงกดดัน
FBS
Exness
Vantage
Doo Prime
TMGM
Neex
FBS
Exness
Vantage
Doo Prime
TMGM
Neex
FBS
Exness
Vantage
Doo Prime
TMGM
Neex
FBS
Exness
Vantage
Doo Prime
TMGM
Neex