简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนเสมอ” นี่คงเป็นคำเตือนยอดฮิตเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าอยากลงทุน ลองตอบคำถาม 5 ข้อนี้กับตัวเองให้ได้เสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนในมือ มลายหายไปกับความไม่รู้ของเราเอง
การลงทุน มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุนเสมอ นี่คงเป็นคำเตือนยอดฮิตเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าอยากลงทุน ลองตอบคำถาม 5 ข้อนี้กับตัวเองให้ได้เสียก่อนค่อยตัดสินใจลงทุน เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนในมือ มลายหายไปกับความไม่รู้ของเราเอง
รู้ว่าสถานะการเงินเป็นอย่างไร
หลายคนอยากลงทุน แต่หลงลืมสำรวจ สถานภาพทางการเงินของตัวเองว่าเป็นอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณภาระค่าใช้จ่าย ว่ามีสัดส่วนเป็นเท่าใดของรายได้ (รายรับ) การเปรียบเทียบว่าตัวเองมีทรัพย์สินหรือหนี้สินมากกว่ากัน มีสภาพคล่องทางการเงินมากน้อยแค่ไหน หากเราคิดแค่ว่า ต้องการลงทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทน โดยไม่หันกลับมามองสถานภาพทางการเงินที่เป็นอยู่ การลงทุนซึ่งมีความเสี่ยง อาจสร้างภาระหนี้สินให้คุณโดยไม่รู้ตัวก็ได้
รู้แบ่งแยกเงินลงทุนเอาไว้
นักลงทุนมือใหม่มักรีบร้อนอยากลงทุนเพื่อสร้างผลกำไร แต่ก่อนที่เราจะหยิบเงินทุนก้อนหนึ่ง ๆ ออกมาลงทุน ต้องไตร่ตรองให้ดีด้วยว่า เงินก้อนนี้ คือ เงินทั้งหมดที่เรามีอยู่หรือเปล่า หรือเป็นเงินก้อนที่เราแบ่งแยกออกมาสำหรับลงทุนโดยเฉพาะ ถ้าใครยังไม่ได้แบ่งแยกเงินลงทุนออกมา คุณก็ควรทำเสียก่อนตัดสินใจลงทุน เพื่อเงินทุนที่คุณมีอยู่จะไม่สูญสลายไปทั้งหมดเมื่อการลงทุนกำลังเผชิญความเสี่ยง เรียกง่าย ๆ ว่า เงินเก็บ (เงินสำรองยามฉุกเฉินสำหรับตัวเองและครอบครัว) กับเงินสำหรับลงทุนควรแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน
รู้ว่าเงินทุนพร้อมลงทุนจริงไหม
เงินทุน ซึ่งแบ่งออกมาแล้วว่า “ต้องการใช้ลงทุน” มีความพร้อมแค่ไหน เป็น “เงินเย็น” หรือไม่ นี่คือคำถามสำคัญ คำว่า เงินเย็น หมายถึง เงินที่ไม่มีต้นทุน (ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากการกู้ยืม) และเป็นเงินที่ไม่มีภาระ (ไม่มีความจำเป็นใดที่ต้องใช้เงินทุนก้อนนี้) เงินที่มีคุณสมบัติทั้งสองข้อนี้ ถือเป็นเงินที่เหมาะสมแก่การลงทุน ดังนั้น ก่อนนำเงินในมือไปลงทุน เราต้องเคลียร์กับตัวเองให้แน่ชัดว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี เราไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนก้อนนี้เลยจริง ๆ
รู้ยอมรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน
ความเสี่ยงจากการลงทุน (Investment Risk) คือ การเปลี่ยนแปลงใดใดที่เกิดขึ้นแล้วส่งผลให้อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจริง เบี่ยงเบนไปจากอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังไว้ ความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งที่ตีคู่มากับการลงทุนเสมอ เป็นเรื่องสำคัญที่นักลงทุนต้องยอมรับและรับมือให้ได้พอ ๆ กับการคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน เนื่องจากการลงทุนแต่ละประเภทมีความเสี่ยงมากน้อยแตกต่างกันออกไป ทุกครั้งที่ตัดสินใจลงทุน จึงเท่ากับว่าเราเตรียมใจยอมรับความเสี่ยงที่จะตามมาด้วย ดังนั้น นักลงทุนมือใหม่ ควรรู้ใจตัวเองเสียก่อนว่ายอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าการลงทุนกับอะไรสักอย่างมีความเสี่ยงมากเกินกว่าเราจะรับมือไหว เราอาจเปลี่ยนไปลงทุนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแทนไหม หรือถ้าหากว่ายอมรับความเสี่ยงไม่ได้เลย คงต้องพิจารณาการลงทุนใหม่ตั้งแต่ต้น
รู้อะไรเกี่ยวกับการลงทุนบ้าง
การลงทุนอย่างชาญฉลาด คือการรู้จักศึกษาเรื่องการลงทุน ก่อนตัดสินใจลงทุน หากเปรียบการลงทุนเป็นขุมทรัพย์ นักลงทุนก็คือนักล่าสมบัติ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาแผนที่ เส้นทาง ด่านอันตราย เงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจออกไปตามหาสมบัติเสมอ เราจึงต้องตอบตัวเองก่อนว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หรือรู้จักการลงทุนประเภทใดมาแล้วบ้าง ถ้ายังไม่มีความรู้ใดใดเลย เราก็ควรศึกษาพิจารณาข้อดี-ข้อด้อยเกี่ยวกับการลงทุนแต่ละประเภทให้รอบคอบ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งดี รู้แล้ววิเคราะห์และตัดสินใจว่า เราจะนำเงินทุนในมือไปใช้ลงทุนอย่างชาญฉลาดกับอะไร ได้อย่างไร
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
อยากเป็นวัยรุ่นพันล้าน ทำไงดี ? ลงทุนอย่างไรไม่ให้เสี่ยง
นี่คือ 5 ปัจจัยที่คุณควรรู้เพื่อเริ่มต้นสัปดาห์ลงทุนของคุณ
ในยุคนี้ ไม่ว่าประชากร Gen X, Gen Y หรือ Gen Z ต่างก็มีความรู้ และสนใจในการวางแผนทางการเงินมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘การลงทุน’ บทความนี้จะพาไปดูว่า การลงทุนมีประโยชน์อย่างไร? และทำไมเราต้องลงทุน?
วันนี้เราของยกเรื่องราวที่เป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของสาวออฟฟิศท่านหนึ่งที่ ‘เสียเงินเก็บทั้งชีวิต’ จากการลงทุนที่ไม่ได้ศึกษามากพอ
Vantage
ATFX
STARTRADER
XM
FBS
OANDA
Vantage
ATFX
STARTRADER
XM
FBS
OANDA
Vantage
ATFX
STARTRADER
XM
FBS
OANDA
Vantage
ATFX
STARTRADER
XM
FBS
OANDA