简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ย้อนไปเมื่อปี 2018 ธนาคารกลางอาร์เจนตินา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% จนทำให้อาร์เจนตินาติดกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก
ย้อนไปเมื่อปี 2018 ธนาคารกลางอาร์เจนตินา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% นั่นไม่ใช่น้อย ๆ นะเพราะหากเทียบกับดอกเบี้ยนโยบายของไทยขณะนั้นอยู่ที่ 1.50% เท่านั้นต่างกันถึง 40 เท่า หลังจากที่เปโซทรุดตัวลงอย่างหนัก รัฐบาลอาร์เจนตินาได้บรรลุข้อตกลงเงินกู้กับ IMF วงเงิน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อพยุงเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งสูงเกือบ 30% ต่อปี จนทำให้อาร์เจนตินาติดกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก
2018 อาร์เจนตินาได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยในจากปลายปี 2017 ที่ประมาณ 28% และปรับเพิ่มเป็น 30% เพิ่มเป็น 45% และมาเป็น 60% ในเวลาต่อมา การขึ้นดอกเบี้ยก็เพื่อชะลอเงินเฟ้อ เพราะกำลังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อขั้นรุนแรง เมื่อปี 2015 เงินเปโซอาร์เจนตินา 9 เปโซ เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ผ่านมา 3 ปี ต้องใช้เงินถึง 38 เปโซ ในการแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ
มันเกิดอะไรขึ้นกับอาร์เจนตินากันแน่ จริง ๆ เรื่องนี้มันไม่ได้เพิ่งเกิด แต่ชาตินี้เจอวิกฤตการเงินหลายต่อหลายครั้ง อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจแทบจะมากที่สุดในโลกด้วยซ้ำ โดย 33% ตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา เศรษฐกิจอาร์เจนตินาอยู่ในภาวะถดถอย (Recession) ซึ่งปัญหาที่ฝังรากลึกมานานจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และการแก้ปัญหาด้วยการพิมพ์เงินอย่างต่อเนื่องจนเงินเปโซอ่อนค่าอย่างหนัก และเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จากการจัดอันดับของ Fraser Institute เมื่อปี 2018 อาร์เจนตินารั้งอันดับที่ 160 จาก 162 ประเทศ สำหรับเรื่องของเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Freedom Index) ส่งผลให้นักลงทุนไม่กล้าลงทุนในอาร์เจนตินา
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2001 อาร์เจนตินาเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ จนกลายเป็นหนี้ไอเอ็มเอฟสูงกว่า 350,000 ล้านบาท ขณะนั้นประธานาธิบดีเนสเตอร์ เคิร์ชเนอร์ เข้าดำรงตำแหน่งในปี 2003 ทำให้เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาดีขึ้น ด้วยการส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าหลักคือแป้งและน้ำมันจากถั่วเหลือง กลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก และสามารถชำระหนี้ไอเอ็มเอฟได้หมดในปี 2006 หลังจากลงจากตำแหน่งในปี 2007 ก็เป็นภรรยาของเขาคริสติน่า เคิร์ชเนอร์ ได้รับเลือกมาเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรก เข้ารับตำแหน่งต่อจนถึงปี 2015การดำเนินนโยบายของสองรัฐบาลนี้ไปในแนวทางเดียวกัน คือนโยบายเพิ่มรายจ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการจำกัดอัตราส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการแปรรูปกิจการเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ
การดำเนินนโยบายขาดดุลมาโดยตลอดนับสิบปี รวมถึงการอุดหนุนค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านพลังงาน ทำให้ราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด เริ่มเข้าสู่สถานการณ์ตรึงเครียด ในปี 2015 ขั้วการเมืองเปลี่ยน นายเมาริซิโอ มาครี ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจอันเปราะบาง ซึ่งเริ่มมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ด้วยแนวทางของเขาเอง ทั้งการตัดเงินค่าใช้จ่ายของภาครัฐ การยกเลิกอุดหนุนค่าไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเชื้อเพลิง ท่ามกลางผู้สนับสนุนและคัดค้าน
แน่นอนว่าเมื่อราคาสินค้าสะท้อนความจริง ข้าวของแพงขึ้นมาก อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลเมาริซิโอให้เหตุผลว่า นี่คือการแก้ปัญหาที่จะนำประเทศเข้าสู่ภาวะปกติ แม้ต้องเผชิญกับความจริงอันเจ็บปวด “นี่ไม่ใช่การวิ่ง 100 เมตร แต่เปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอน” และเพื่อปกป้องค่าเงินเปโซที่กำลังอ่อนแอ อาร์เจนตินาต้องการเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟมูลค่าราว 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท)
ในขณะที่หลายฝ่ายมองว่ารัฐบาลกำลังสิ้นหวัง ทางรัฐบาลอาร์เจนตินายังคงบอกว่า “ไม่ใช่จุดล้มเหลว” แต่เป็น “การเปลี่ยนผ่าน” แก้ปัญหา เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติเท่านั้น ทางการอาร์เจนตินาระบุว่า วิกฤตโควิด-19 ยิ่งทำให้เศรษฐกิจแย่เข้าไปใหญ่ จนไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้ได้ สุดท้ายวิกฤตครั้งนี้จะจบลงอย่างไร อาร์เจนตินาจะหลุดพ้นจากวังวนนี้หรือไม่ นี่เป็นสิ่งที่น่าจับตามองอย่างมาก
แล้วเราจะรีบมาอัพเดตให้คุณรู้ก่อนใคร ดาวน์โหลด WikiFX เพื่อติดตามข่าวสารสถานการณ์ด้านการเงิน และเศรษฐกิจทั่วโลกแบบนี้ได้ฟรี ๆ ตอนนี้ โหลดเลย!!
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, BillionWay, BBC
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลก
เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้จักวิฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงของโลก วิฤตของประเทศ ‘เวเนซูเอลา’ จากประเทศที่ร่ำรวยมหาศาลจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจตกต่ำจมดิน
FBS
Pepperstone
FP Markets
HFM
STARTRADER
FXTM
FBS
Pepperstone
FP Markets
HFM
STARTRADER
FXTM
FBS
Pepperstone
FP Markets
HFM
STARTRADER
FXTM
FBS
Pepperstone
FP Markets
HFM
STARTRADER
FXTM