简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้จักวิฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงของโลก วิฤตของประเทศ ‘เวเนซูเอลา’ จากประเทศที่ร่ำรวยมหาศาลจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจตกต่ำจมดิน
เชื่อว่าหลายคนคงต้องรู้จักวิฤตการเงินที่ร้ายแรงที่สุดครั้งนึงของโลก วิฤตของประเทศ ‘เวเนซูเอลา’ จากประเทศที่ร่ำรวยมหาศาลจากปริมาณสำรองน้ำมันดิบใหญ่ที่สุดในโลก กลายเป็นประเทศเศรษฐกิจตกต่ำจมดิน เงินไร้ค่า คนอดอยาก ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร ใช่ความผิดพลาดของการบริหารประเทศหรือไม่ ติดตามได้ในบทความนี้
เวเนซุเอลาเป็นประเทศที่มีทรัพยากรน้ำมันและพลังงานธรรมชาติอยู่เป็นจำนวนมาก นำมาซึ่งรายได้มากมายมหาศาล รัฐบาลเวเนซุเอลาส่งออกน้ำมันดิบสู่ตลาดโลกมากมาย ยิ่งราคาน้ำมันดิบขึ้นมาก ประเทศเวเนซุเอลายิ่งร่ำรวย รายได้ของรัฐกว่า 95% มาจากการส่งออกน้ำมัน
จนเมื่อปี 1976 รัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์ลอส แอนเดรส เปเรซ ออกนโยบายตั้ง “บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ” เพื่อให้รัฐบาลเข้าไปควบคุมธุรกิจพลังงานทั้งหมดในประเทศ แทนที่จะเป็นบริษัทเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผลคือ ทำให้รัฐบาลเวเนซุเอลาตอนนั้นรวยขึ้นแบบสุด ๆ จากการขายน้ำมัน แต่กลับบริหารจัดการทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์นี้อย่างไร้ประสิทธิภาพ
ก่อนที่ในปี 1999 “ฮูโก ชาเวซ” จะได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเขามีแนวคิดรัฐสวัสดิการ จึงนำเงินจำนวนมากมาใช้กับโครงการประชานิยมแบบสุดโต่ง เพื่อเอาใจประชาชนด้วยหวังจะได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน เช่น อุ้มราคาสินค้า โดยควบคุมและกำหนดราคาสินค้าให้ถูกกว่าความเป็นจริงมาก จนภาคธุรกิจขาดทุนอยู่ไม่ได้, ทำลายกลไกราคาตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ ด้วยการสร้างบ้านให้ประชาชนกว่า 2 ล้านหลัง อุดหนุนราคาพลังงานให้ถูกราวกับแจกฟรี ทำให้ประชาชนผลาญพลังงานอย่างสิ้นเปลือง
ปี 2003 ชาเวซตัดสินใจเข้าควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราควบคุมให้คงที่และต้องซื้อขายผ่านคนกลางของรัฐบาล ทำให้กลไกตลาดของค่าเงินเปลี่ยนแปลงไป ประชาชนไม่สามารถแลกเปลี่ยนเงินตราเองได้ จนนำไปสู่ตลาดมืดและการพังทลายของค่าเงินที่รัฐไม่อาจควบคุม ซึ่งเป็นเหตุให้ตลาดค่าเงินเวเนซุเอลาพัง ขาดแคลนเงินสกุลต่างชาติ เป็นจุดเริ่มต้นของเงินเฟ้อขั้นรุนแรง
2013 ชาเวซเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง และเขาได้เลือกนายมาดูโรขึ้นเป็นผู้สืบทอดของเขา ในสายตาของชาวเวเนซุเอลา นายชาเวซยังเป็นวีรบุรุษเพื่อคนจนของประเทศนี้เสมอ อาจจะเป็นจังหวะพอเหมาะพอสมที่ปัญหาที่น่ากลัวยังไม่เกิด นายชาเวซจึงกลายเป็นที่ยกย่อง ถึงแม้ว่าเขาจะได้วางรากฐานหลายอย่างที่เป็นโครงสร้างของเนื้อร้ายที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
แม้จะเปลี่ยนผู้นำประเทศ แต่รัฐบาลก็ยังไม่หยุดใช้นโยบายประชานิยมต่อไป จนเกิดวิฤตที่ประขึ้นแรงแบบที่ใครไม่อาจคาด เมื่อวันที่ฟ้าใส ๆ กลายเป็นครึ้มหนัก เมื่อประเทศที่พึ่งรายได้จากนำมันอย่างเดียว เจอวิกฤตราคาน้ำมันตกต่ำ ในช่วงปี 2014-2016 ราคาน้ำมันดิบลดลงต่ำกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล จากที่เคยสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล เวเนซุเอลารับผลกระทบไปเต็ม ๆ จนรายได้หายไปมหาศาล
แม้จะมีสัญญาณเตือนถึงปัญหาเศรษฐกิจ ทว่า รัฐบาลกลับไม่เลือกใช้นโยบายรัดเข็มขัด แต่ยังคงเดินหน้าอัดฉีดเงินเพื่อประชานิยมต่อไป แถมยังหมดเงินจำนวนมากไปกับการซื้อเครื่องบินรบ รถถัง เพื่อเสริมกองทัพ จนต้องกู้เงินจากจีนและรัสเซีย ที่สำคัญคือ บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ ก็เจอกับภาวะขาดทุน เพราะการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพของภาครัฐ
2016 ราคาน้ำมันยังคงลดลงต่อเนื่อง สถานการณ์ภายในประเทศก็วิกฤตถึงขีดสุด หน่วยงานรัฐแทบจะไม่มีเงินมาจ่ายเงินเดือนคนงาน ถึงขั้นต้องให้หยุดงาน โดยมาทำแค่สัปดาห์ละ 2-3 วัน ระบบเศรษฐกิจของประเทศแทบหยุดชะงัก คนในประเทศก็แทบจะทำอะไรไม่ได้ การล่มสลายทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประเทศเวเนซุเอลามีคนแค่ 2 ชนชั้น ก็คือคนรวยมาก และคนจนมาก รัฐบาลมาดูโร่ พยายามแก้ปัญหาเงินเฟ้อหลายวิธี ทั้งการเพิ่มเงินเดือนขั้นต่ำ 30 เท่า ก็ไม่ได้ช่วยอะไร
ทั้งการสร้างเงินสกุลใหม่ที่มีค่ามากกว่าเงินสกุลเดิม 100,000 เท่า เพื่อให้คนไม่ต้องขนเงินเป็นกระสอบไปซื้อของ ด้วยความที่เขาไม่อยากเป็น “ประธานาธิบดีคนแรกในประวัติศาสตร์ 50 ปีของเวเนซุเอล่า ที่ตัดโครงการประชานิยมทิ้ง” ปัจจุบัน คนจนในเวเนซุเอล่า ต้องเลือกระหว่าง จะเป็นพวกแบมือขอ หรือจะเป็นพวกดิ้นรนไปตายเอาดาบหน้าคนเวเนซุเอล่า 3-4 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดราว 32 ล้านคน ทำการอพยพลี้ภัยไปยังประเทศข้างเคียงอย่างบราซิล หรือโคลัมเบีย ขณะที่ตามท้องถนนในบางเมือง ก็มีผู้อพยพเร่ร่อนชาวเวเนซุเอล่า ที่ไม่มีแม้กระทั่งที่ซุกหัวนอนนับพัน
ปัญหาผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา กลายเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันตก เป็นรองเพียงปัญหาผู้อพยพชาวซีเรียจากตะวันออกกลางไปยุโรปเท่านั้น โดยที่ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการประท้วงในเวเนซุเอลา ก็ไม่ได้มีท่าทีจะทุเลาลงแต่อย่างใด กลับมามองที่ประเทศเรา ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงต้องคิด ๆ บ้างแหละว่าไทยเรามีโอกาสไปเผชิญวิฤตแบบนั้นมั้ย จริง ๆ เราก็ตอบได้ยากเนอะ เพราะการบริหารบางอย่างของเวเนซูเอลาเอง ก็แอบคล้าย ๆ ที่เราพบเห็นทุกวันนี้ ในขณะที่ภาคการลงทุน การบริหารโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ หรือบางนโยบายเราก็ยังทำได้ดีกว่ามาก เราสรุปไม่ได้ว่าไทยมีโอกาสเป็นแบบเวเนซูเอลามั้ย แต่สรุปได้ว่าการตัดสินใจของ ‘ผู้นำประเทศ มีผลต่ออนาคตของประเทศ’ แน่นอน
ตอนนี้คุณสามารถติดตามข่าวสารเศรษฐกิจโลก เช็คปฎิทินข่าวเศรษฐกิจ อ่านบทความแนวโน้มตลาด Forex พร้อมรับเทคนิค กลยุทธ์ การเทรด Forex ที่เราคัดสรรค์มาให้ทุกวันได้ฟรี ที่แอป WikiFX โหลดเลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
อีกหนึ่งประเทศจากอีกฟากโลกอย่าง ‘เลบานอน’ ก็กำลังเผชิญกับวิกฤตเช่นกัน แต่ร้ายแรงกว่าเราหลายเท่า ธนาคารโลกกล่าวว่า วิกฤตการณ์ทางการเงินนี้อาจจัดอยู่ใน Top 3 ของโลก
ย้อนไปเมื่อปี 2018 ธนาคารกลางอาร์เจนตินา ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 60% จนทำให้อาร์เจนตินาติดกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลก
IC Markets Global
ATFX
VT Markets
AvaTrade
IB
Exness
IC Markets Global
ATFX
VT Markets
AvaTrade
IB
Exness
IC Markets Global
ATFX
VT Markets
AvaTrade
IB
Exness
IC Markets Global
ATFX
VT Markets
AvaTrade
IB
Exness